โหลดแคลอรีช่วงเช้า ช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าโหลดแคลอรีช่วงเย็นหรือไม่ (ซีรีย์สรุปงานวิจัย #14)
Manage episode 342666374 series 3233261
🏅 หลังจาก Jeffrey C. Hall, Michael Robash และ Michael W. Young ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2560 จากการค้นพบกลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมนาฬิกาชีวภาพประจำเซลล์ ศาสตร์ชีววิทยาตามนาฬิกาชีวภาพ (Chronobiology) เริ่มได้รับความสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องการกิน นอน ออกกำลังกาย
📃 มีสุภาษิตที่กล่าวว่า กินมื้อเช้าอย่างพระราชา มื้อกลางวันอย่างเจ้าชาย และมื้อเย็นอย่างยาจก จะช่วยส่งเสริมสุขภาพ และช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจาก เป็นการกินที่สอดคล้องกับจังหวะนาฬิกาชีวภาพร่างกาย
⏰ ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2565 พี่ปุ๋มเริ่มต้นสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “When” to eat ด้วยการทำวิดีโอสรุปงานวิจัยที่มีลักษณะเป็น randomized controlled trials ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2565 เป็นการจำกัดแคลอรีร่วมกับการจำกัดช่วงเวลากิน เปรียบเทียบกับ การจำกัดแคลอรีแต่ไม่จำกัดช่วงเวลาในการกิน หรือ จำกัดแคลอรีร่วมกับจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ช่วงเช้า เปรียบเทียบกับ จำกัดแคลอรีร่วมกับจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ช่วงเย็น ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัยเหล่านี้คือ ถ้าว่าด้วยเรื่องการลดน้ำหนัก แคลอรีสำคัญกว่าช่วงเวลาการกิน และยังไม่สามารถระบุกลไกที่ชัดเจนของการจำกัดช่วงเวลาการกินได้ว่าส่งผลต่อการลดน้ำหนักได้อย่างไร
👩🏻💻 สำหรับการสรุปงานวิจัยในครั้งที่ 14 นี้ เราจะมาสำรวจงานวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ในเดือนต.ค.2565 ในวารสารการแพทย์ชั้นนำ เรื่องการโหลดแคลอรีหนักในช่วงเช้า เทียบกับการโหลดแคลอรีหนักช่วงเย็น ว่าส่งผลต่อ Energy Expenditure และน้ำหนัก แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร พร้อมกับมาทบทวนการวิจัยชิ้นสำคัญในอดีตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหาข้อสรุป ณ ปัจจุบันกันค่ะ
131 एपिसोडस